วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 1/2/2011

- อาจารย์สอนเกี่ยวกับ ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเด็กได้รับโอกาส

ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านอย่างเงียบๆ

ตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกันในการรับฟังและตรวจสอบความคิด

ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

- ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม

1. อ่าน - เขียน
- เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือ ผ่านการฟังนิทาน

เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับผู้ใหญ่

- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่านเขียน และสะกด

เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทุกคำ

- ครูแนะนำและสอนการอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ชัดเจนให้เห็นกันทั่ว

- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆ ผลัดการอ่านด้วยการออกเสียงดัง

- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย

2.ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
- ขั้นแรก คำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก ชื่อคน อาหารสิ่งที่อยู่รอบตัว

- ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันธ์กันตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้

หรืออ่านได้ถูกและเรียนรู้ที่อยู่ตำแหน่งของตัวอักษร

- ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะตัวอักษรตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร

เริ่มอ่านจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นพื้นฐานด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย

- ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน

3.การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
- ระยะแรก เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ที่ใช้แทนอักษรและที่ไม่ใช่อักษร

เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเองแทนอักษร

- ระยะที่สอง ลักษณะสำคัญคือ การเขียนตัวอักษรที่แตกต่างกันโดยมีลำดับจำนวนตามที่เขาคิดไว้

- ระยะที่สาม เด็กเริ่มใช้ลักษณะ การออกเสียงในขณะเขียน และการเขียนใกล้เคียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น